วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (เรียนชดเชย)
บรรยากาศการเรียนการสอน
อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยเพื่อทำงานเป็นกลุ่มโดยอาจารย์แจกเอกสารที่ให้ผมไปปริ้นมาให้กับเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม4กลุ่ม จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มอธิบายว่าจะให้ทำอย่างไรบ้าง แล้วนักศึกษาก็แบ่งกันทำช่วยกันทำจนสำเร็จ

แนวคิดของกลุ่มผมคือกล้วยเป็นสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ เป็นไม้ล้มลุก มีหลายชนิดและหลายประเภท

ผังการจัดประสบการณ์มีทั้งหมด6กิจกรรมก็คือ
1.กิจกรรมการเคลื่อนไหว
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมศิลปะ
4.กิจกรรมเสรี
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา

ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการคิดวิเคราะห์
2.ทักษะการฟัง
3.ทักษะการพูด
4.ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
5.ทักษะการคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้
เป็นการเข้าใจในแผนกิจกรรมอย่างลึกซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง และรู้วิธีเขียนอย่างถูกวิธีจนแผนสำเร็จและใช้ได้จริง

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนครั้งสุดท้ายและให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติเขียนจริง หากนักศึกษาไม่เข้าใจอาจารย์ก็พร้อมจะอธิบายจนนักศึกษาเข้าใจ

การประเมิน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนในกลุ่มและนอกกลุ่มช่วยเหลืองซึ่งกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง
ประเมินตนเอง : ให้ความช่วยเหลือกับเพื่อนในกลุ่มและนอกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในทุกๆด้าน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
บรนรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำแผนของวันพฤหัสบดีมาดูและอาจารย์จะเพิ่มหรือแสดงความคิดเห็นว่าควรเพิ่มหรือปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง
 


กลุ่มที่1 หน่วยกล้วย
เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
กลุ่มผมทำนิทาน bigbook เรื่องกล้วยน้อยช่างคิด ในเนื้อหาจะพูดถึงประโยชน์และโทษของกล้วยว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และบูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ด้านไหนบ้าง กลุ่มของผมถูกอาจารย์ให้เปลี่ยนเนื้อหาของนิทานให้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น


กลุ่มที่2 หน่วยของเล่นของใช้
เรื่อง ประโยนช์ของของเล่นของใช้
กลุ่มที่2ได้นำเสนอด้วยนิทาน bigbook เหมือนกับกลุ่มผม โดยใช้ชื่อนิทานว่าหนูจินสอนเพื่อน โดยใช้หนูจินเป็นตัวเอกดำเนินเรื่อง บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในด้านการจับคู่ เช่นช้อนคู่กับส้อม เสื้อคู่กับกระโปรง


กลุ่มที่3 หน่วยผลไม้
เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
กลุ่มที่3 นำเสนอด้วยนิทานเล่นเล็กเน้นเกี่ยวกับคำคล้องจอง บูรณาการเกี่ยวกับ รูปร่างรูปทรง ขนาด ลักษณะที่แตกต่างกันของผลไม้


กลุ่มที่4 หน่วยยานพาหนะ
เรื่อง วิธีการดูแลรักษายานพาหนะ
กลุ่มที่4 นำเสนอด้วยนิทานเล่นเล็กเล่าถึงการดูแลรักษายานพาหนะ วิธีล้าง การทำความสะอาดต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเขียนแผนกิจกรรมเพื่อให้แผนของเราออกมาสมบูรณ์แบบและมีความถูกต้องเข้าใจง่าย ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กอย่างถูกต้อง

เทคนิคการสอน
อาจารย์ให้เพื่อนๆแชร์ความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการศึกษาหาความรู้จากเพื่อนๆ

การประเมิน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจศึกษาหาความรู้จากกลุ่มอื่นๆเพื่อนำมาปรับใช้กับกลุ่มของตนเอง
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนๆกลุ่มอื่น เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มของตนเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีจุดหมายในการสอนชัดเจน มอบความรู้ให้กับลูกศิษย์อย่างเต็มที่
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันนี้ผมเอางานวิจัยที่อาทิตย์ที่แล้วไม่ผ่านมาใหม่



นำเสนองานวิจัยเพิ่มเติม  

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุ่มตัวอย่าง   
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20คน
       
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก

และต่อมาคือการสอนของกลุ่มวันจันทร์
กลุ่มแรกสอนเกี่ยวกับยานพหนะ ประเภทและชนิดต่างๆ

กลุ่มที่สองเกี่ยวกับของเล่นของใช้ ประเภทและชนิดของๆเล่น

กลุ่มที่สามสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ชนิดและประเภท

กลุ่มที่สี่ซึ่งคือกลุ่มผมสอนเกี่ยวกับประเภทของกล้วย ชนิด ลักษณะ


ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการคิด
2.ทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ทักษะการฟังและการตอบคำถาม

การนำมาประยุกต์ใช้
ทราบถึงส่วนประกอบของแผน วิธีการเขียน และการดำเนินการที่ถูกต้องตามขั้นตอน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบทำให้เข้าใจง่ายและเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้พูดคุย ถามตอบกับอาจารย์

การประเมิน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละกลุ่มนำข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงแก้ไขได้ดี
ประเมินตนเอง : ทราบถึงจุดบกพร่องของแผนและนำไปสอนเพื่อนที่ไม่เข้าใจได้ดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอดแทรกความรู้อยู่ตลอดเวลาที่เรียน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บรรยากาศในห้องเรียน
      อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำแผนมาให้อาจารย์ดูและเอามาให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มดูเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขและดูความถูกต้องของแต่ละกลุ่ม
 การเขียนแผนทั้ง5วันมีหัวข้อดังนี้
1.วันจันทร์ ประเภทหรือชนิด
2.วันอังคาร ลักษณะ
3.วันพุธ การดูแลรักษา
4.วันพฤหัสบดี ประโยชน์
5.วันศุกร์ ข้อควรระวัง

หลังจากพูดคุยเกี่ยวกับการเขียนแผนอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัยและโทรทัศน์ครู

ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะในการสังเกต
2.ทักษะการคิดและคำนวนทางคณิตศาสตร์
3.ทักษะการเชื่อมโยงความรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรม
4.ทักษะการตอบคำถาม

การนำมาประยุกต์ใช้
1.กำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหา
2.วางแผนกิจกรรมให้เด็กๆสามารถเข้าใจได้ง่ายและเกิดการเรียนรู้
3.เปิดโอกาศให้เด็กได้คิดและสามารถเรียนรู้แบบต่อยอดได้ด้วยตัวเอง

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการใช้สื่อในการสอนเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถคิดอย่างเป็นระบบและทำงานอย่างเป็นขั้นตอน

ประเมินผล
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนรู้และคิดตามคำพูดของอาจารย์
ประเมินตนเอง : มีความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้วิธีที่หลากหลายในการสอนก่อให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆได้เสมอ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

เนื่องจากต้องย้ายตึกใหม่เพราะตึกเก่าที่เรียนจะทำการบูรณะใหม่ โดยวันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานตามวัน เช่นวันจันทร์สอนเรื่องชนิดหรือประเภท โดยกิจกรรมที่ทำต้องมี5กิจกรรมหรือ5วันและต้องครอบคลุมหัวข้อของแผนของกลุ่มเรา

กลุ่มของผมเลือกหน่วย กล้วย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.การเขียนแผนที่ถูกต้องและสมบูรณ์
2.ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีความสอดคล้องของเนื้อหากับกิจกรรมที่เราจะทำ

เทคนิคการสอน

อาจารย์ใช้เทคนิคที่ทำให้การสอนใช้เวลาสั้นๆแต่เข้าใจได้ง่าย

การประเมินผล

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคนมีความตั้งใจในการทำงาน
ประเมินตนเอง : เข้าใจและสามารถนำมาทำกิจกรรมได้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมความพร้อมในการนำความรู้มาสอนทำให้นักศึกาาเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนๆและครูร่วมคุยเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่ รร.อนุบาลพิบูลเวศม์ในสัปดาห์ก่อนว่ามีการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในการสอนอะไรบ้างและใช้สื่ออะไรบ้างที่เกียวกับคณิตศาสตร์ การสอนของรร.อนุบาลพิบูลเวศม์จะมีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ และการสอนแบบ Project apporach ทักษะทางคณิตศาสตร์การจัดกิจกรรมและมาตราฐานการเรียนรู้ทั้ง6สาระได้แก่
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หลังจากพูดคุยเสร็จอาจารย์เริ่มสอนโดยการนำกิจกรรมและถามถึงกิจกรรมว่าเป็นกิจกรรมที่อยู่ในสาระที่เท่าไหร่


532         537            53            1375
ลด2       เพิ่ม2         เพิ่ม2          ลด2 

เสร็จแล้วเพื่อนๆนำเสนอบทความ วิจัยและโทรทัศน์ครู

ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการวิเคราะห์
2.ทักษะการคิดและคำนวน
3.ทักษะการนำการสอนแบบโครงการไปใช้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.เพิ่มความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบโครงการและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2.การเขียนแผนผังความคิดหน่วยต่างๆ

เทคนิคการสอน
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามคำถามเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง

การประเมินผล
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีความพยายามและความตั้งใจในการเขียนแผน
ประเมินตนเอง : -
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพร้อมและนำความรู้มาให้นักศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 

ศึกษาดูงานที่ รร.อนุบาลพิบูลเวศม์



สื่อการสอนและการจัดบรรยากาศการเรียนรู้





ภาพบรรยากาศเด็กๆขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอน



การเรียนการสอนของเด็กๆในช่วงนี้คือการสอนแบบโครงการหรือ Project Approach

การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
  • ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
  • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
    • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
    • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
    • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
    • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
  • มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
  • กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
  • เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
  • ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน