วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันนี้ผมเอางานวิจัยที่อาทิตย์ที่แล้วไม่ผ่านมาใหม่



นำเสนองานวิจัยเพิ่มเติม  

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุ่มตัวอย่าง   
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20คน
       
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก

และต่อมาคือการสอนของกลุ่มวันจันทร์
กลุ่มแรกสอนเกี่ยวกับยานพหนะ ประเภทและชนิดต่างๆ

กลุ่มที่สองเกี่ยวกับของเล่นของใช้ ประเภทและชนิดของๆเล่น

กลุ่มที่สามสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ชนิดและประเภท

กลุ่มที่สี่ซึ่งคือกลุ่มผมสอนเกี่ยวกับประเภทของกล้วย ชนิด ลักษณะ


ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการคิด
2.ทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ทักษะการฟังและการตอบคำถาม

การนำมาประยุกต์ใช้
ทราบถึงส่วนประกอบของแผน วิธีการเขียน และการดำเนินการที่ถูกต้องตามขั้นตอน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบทำให้เข้าใจง่ายและเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้พูดคุย ถามตอบกับอาจารย์

การประเมิน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละกลุ่มนำข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงแก้ไขได้ดี
ประเมินตนเอง : ทราบถึงจุดบกพร่องของแผนและนำไปสอนเพื่อนที่ไม่เข้าใจได้ดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอดแทรกความรู้อยู่ตลอดเวลาที่เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น