วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายครับ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บรรยากาศและสาระที่ได้


       เริ่มต้นคลาสด้วย >> อนาคตก้าวไกล  ด้วยครูดี  มีคุณภาพ !! เป็นคำตอบของสิ่งที่ครูถามว่าคำขวัญวันครูปีนี้คืออะไร
จากนั้นก็แจกกระดาาคนละใบให้ฉีกกระดาษเป็น 4 ส่วนเก็บไว้ส่วนหนึ่งที่เหลือคืนครูจากนั้นให้นีดศึกษาออกแบบเขียนชื่อของตัวเองลงให้กระดาษเพื่อนๆ ก็ส่วนมากเลือกเขียนอยู่ตรงกลางกันหมด และมีเพื่อนบางคนที่เขียนไม่ตรงกับคำสั่งของอาจารย์ อาจารย์ก็ให้ไปเขียนใหม่ พออาจารย์พูดอธิบายเสร็จอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนองานของตนเอง



เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

       ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมการศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1. จำนวนและการดำเนินกาาร
            2. การวัด
            3. เรขาคณิต
            4. พีชคณิต
            5. การวัดวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
            6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
    - จำนวนนับ 1 - 20
    - เข้าใจหลักการนับ
    - รู้จักตัวเลขฮินดูอาราบิกและตัวเลขไทย
    - รู้ค่าของจำนวน
    - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
    - การรวบและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
    - เปรียบเทียบเรียงลำดับและจัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
    - รู้จักรเงินเหรียญและธนบัตร
    - เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
    - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
    - รูปทรรงเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. ความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


ทักษะที่ได้


- ทักษะการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการวางแผน
- ทักการการฟัง
- ทักษะการเขียนสรุป

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  สามารถนำคาวมรู้ที่ได้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ หากเราเป็นครูหรือสามารถนำไปสอนลูกหลานของเราได้ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ก็เป็นประโยชน์กับตัวเด็กได้ ช่วยฝึกทางความคิด สมองของเด็กก็มีการพัฒนา

เทคนิคในการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนและอธิบายกับเนื้อหาสาระได้เข้าใจอาจารย์มีคำถามที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบและได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เเสดงความคิดของตนเอง

การประเมิน

ประเมินตนเอง - เรียนไม่ค่อยทันเพื่อนเพราะว่าในระหว่างคาบก็เผลอหลับไปเนื่องจากผมไม่ค่อนได้พักผ่อนเท่าไหร่ เพราะมีทั้งการบ้านและงานที่ต้องทำอีกเยอะ
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีเทคนิคในการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาได้ง่าย 

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป โทรทัศน์ครู

• ครูคณิตคิดสร้างสรรค์ - มีการสอดแทรกกิจกรรมด้วยสิ่งของร่วมกัน โดยอาจารย์มีการเสริมแรงให้กับเด็ก หากผิดหรือถูกจะมีการชื่นชมหรือปลอบใจเกิดขึ้น ดึงความคิดสร้างสรรค์จากตัวเด็กออกมาเป็นรูปธรรม และเสาะหาวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ให้ซ้ำกับเพื่อน ทำให้เกิดความเชื่อใหม่ๆว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช้การคิดเลขอย่างเดียว สิ่งต่างๆรอบตัวเราล้วนเป็นคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

อ้างอิง  •  http://www.thaiteachers.tv/tv/?t=10&c=364&v_page=4


สรุป วิจัย

เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

โดย สมศรี เป็งใจ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย - เป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสติปัญญา การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยนี้คือ
1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาคาวมพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

ผลการวิจัย - นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการโดยเฉพาะความสามารถด้านการคิดได้อย่างเหมาะสมกับวัย ซึ่งได้ผลสรุปรูปแบบการคิดที่สะท้อนในขณะเล่นและทำกิจกรรมดังนี้ คิดคล่องว่องไว คิดชัดเจน คิดหลากหลาย คิดละเอียดอ่อน คิดเปรียบเทียบ คิดอย่างมีเหตุและผล คิดเป็น คิดแคบ-คิดกว้าง คิดรอบคอบ
นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 70 % โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25

อ้างอิง  •  http://mathkarn.blogspot.com/2013/01/blog-post_30.html?m=1


สรุป บทความ



การเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สามารถกระทำและส่งเสริมได้ตั้งแต่เด็กในระดับปฐมวัยซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนเฉพาะในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมด้วยเหตุที่เด็กปฐมวัยมีธรรมชาติและลักษณะพัฒนาการที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะดังนั้นการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางด้านคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด
                คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้เริ่มในวันแรกของการเข้าโรงเรียนพัฒนาการของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ตัวเลข รูปทรง และแบบรูปเริ่มตั้งแต่ที่เด็กมีประสบการณ์อยู่ในช่วงทารก การเล่นกับของเล่น การพุดคุย การร้องเพลง การค้นคว้าสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กรู้จักโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ควรจัดให้เด็กมีประสบการณ์การค้นคว้าอย่างไม่เป็นทางการด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเพราะเป็นการวางรากฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อ้างอิง  •  http://krufonclass4.blogspot.com/p/blog-page_4961.html?m=1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

บรรยากาศในห้องเรียนและสารที่ได้

อาจารย์เช็คชื่อแล้วก็ถามว่าทำไมนักศึกษาบางคนถึงไม่เข้าเรียนอาทิตย์ที่แล้ว อาจารย์ต้องการให้นักศึกษาแต่ละคนมีเหตุผลที่ไม่ได้มาเรียน เสร็จแล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษรีไซเคิลให้คนละ1แผ่น และอาจารย์ก็อธิบายเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์เพื่อให้เราเข้าใจว่า คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งการคิดคำนวน การใช้จ่ายเงินตรา การผสม การปรุงอาหารก็ต้องมีการวัด คณิตศาสตร์และ๓าษาเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้

      สรุป 1. คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวัน
              2. คณิตศาสตร์และภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

    หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่าคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาเองนั้นหมายถึงอะไร
เพื่อนๆส่วนมากต่างก็ตอบคล้ายกัน อาจารย์จึงสรุปให้ว่าคือการคิดคำนวณในชีวิตประจำวัน
และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำ Ming Mapping สรุปส่งอาจารย์


ทักษะที่ได้

• ได้การคิดแบบมีเหตุและผล
• รู้จักการสรุปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
• การนำไปใช้สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำมาประยุกต์ใช้

    สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้สอนเด็กหรือนำมาปรับใช้กับความรู้ใหม่ๆให้ได้ประโยชน์ต่อตัวเด็กมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์

    อาจารย์มีวิธีการคิดสอดแทรกระหว่างการสอนเนื้อหาและสามารถสอนด้วยวิธีที่ทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ มีการถามตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

การประเมิน

  ประเมินตนเอง - ผมสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้เป็นส่วนใหญ่เพราะว่ามีการคิดอยู่ตลอดเวลา พยายามหาคำตอบที่ถูกต้อง ถึงจะผิดหรือถูกก็ยังถือว่าได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
   ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆทุกคนตั้งใจและมีสมาธิกับคำถามของอาจารย์ ช่วยกันระดมความคิดเพื่อให้คำตอบ
   ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนสนุกและตั้งใจ พยายามถามคำถามอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้นักศึกษาได้คิด

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

เนื่องจากผมติดธุระเลยไม่ได้มาเรียนครับ