วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป โทรทัศน์ครู

• ครูคณิตคิดสร้างสรรค์ - มีการสอดแทรกกิจกรรมด้วยสิ่งของร่วมกัน โดยอาจารย์มีการเสริมแรงให้กับเด็ก หากผิดหรือถูกจะมีการชื่นชมหรือปลอบใจเกิดขึ้น ดึงความคิดสร้างสรรค์จากตัวเด็กออกมาเป็นรูปธรรม และเสาะหาวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ให้ซ้ำกับเพื่อน ทำให้เกิดความเชื่อใหม่ๆว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช้การคิดเลขอย่างเดียว สิ่งต่างๆรอบตัวเราล้วนเป็นคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

อ้างอิง  •  http://www.thaiteachers.tv/tv/?t=10&c=364&v_page=4


สรุป วิจัย

เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

โดย สมศรี เป็งใจ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย - เป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสติปัญญา การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยนี้คือ
1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาคาวมพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย

ผลการวิจัย - นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการโดยเฉพาะความสามารถด้านการคิดได้อย่างเหมาะสมกับวัย ซึ่งได้ผลสรุปรูปแบบการคิดที่สะท้อนในขณะเล่นและทำกิจกรรมดังนี้ คิดคล่องว่องไว คิดชัดเจน คิดหลากหลาย คิดละเอียดอ่อน คิดเปรียบเทียบ คิดอย่างมีเหตุและผล คิดเป็น คิดแคบ-คิดกว้าง คิดรอบคอบ
นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 70 % โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25

อ้างอิง  •  http://mathkarn.blogspot.com/2013/01/blog-post_30.html?m=1


สรุป บทความ



การเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สามารถกระทำและส่งเสริมได้ตั้งแต่เด็กในระดับปฐมวัยซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนเฉพาะในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมด้วยเหตุที่เด็กปฐมวัยมีธรรมชาติและลักษณะพัฒนาการที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะดังนั้นการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางด้านคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด
                คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้เริ่มในวันแรกของการเข้าโรงเรียนพัฒนาการของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ตัวเลข รูปทรง และแบบรูปเริ่มตั้งแต่ที่เด็กมีประสบการณ์อยู่ในช่วงทารก การเล่นกับของเล่น การพุดคุย การร้องเพลง การค้นคว้าสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กรู้จักโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ควรจัดให้เด็กมีประสบการณ์การค้นคว้าอย่างไม่เป็นทางการด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเพราะเป็นการวางรากฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อ้างอิง  •  http://krufonclass4.blogspot.com/p/blog-page_4961.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น