วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนอารมณ์ดีตั้งแต่เช้าเนื่องด้วยมีการพูดคุยและมีมุขตลกๆก่อนเริ่มเรียน ทำให้การดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงด้วยดี

สาระความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นำไม้ลูกชิ้นที่แจกไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วขึ้นมา และอาจารย์ก็อธิบายว่าจะให้ทำอย่างไร เริ่มแรกอาจารย์ให้พวกเราทำรูปสามเหลี่ยม โดยไม่กำหนดขนาดและวิธีการ ต่อมาอาจารย์ให้ทำรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งอาจารย์จะดูว่ามีของเพื่อนคนไหนที่แตกต่างกันให้นำออกไปโชว์




 ต่อมาอาจารย์ให้ทำรูปสี่เหลี่ยมและรูปทรงสี่เหลี่ยม และนำไปเสนอผลงาน





กิจกรรมนี้ทำให้เรารู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  การเลือกวิธีการแก้ไข  ผลงานที่ได้ 


ทักษะที่ได้รับ
- รู้จักการคิดวิเคราะห์
- รู้จักการแก้ปัญหา
- รู้จักทำงานอย่างเป็นระบบ

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้ในอนาคตกับเด็กได้ โดนใช้หลักการลงมือทำก่อน เพื่ออธิบายทีหลังว่าทำเพื่ออะไร ช่วยให้เด็กได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์ใช้วิธีให้นักศึกษาลงมือทำ โดยให้ใช้ความคิดอย่างอิสระ ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ การคิดสร้างสรรค์และเกิดจินตนาการ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง - สามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จลุล่วง
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆมีส่วนร่วมในกิจกรรมและให้ความร่วมมืออย่างดี
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีทักษะในการสอนช่วยให้นักศึกษาได้จดจำโดยง่าย

สรุปการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
บรรยากาศในห้องเรียน

หลังจากเช็คชื่อเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ตีตารางเป็น2รูปแบบลงในกระดาษ เผื่อให้นักศึกษาลองคิดและแรเงาลงไปในช่องให้ได้ตามโจทย์ที่อาจารย์สั่ง 


สาระความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเกมการศึกษา (เพิ่มเติม)

1.จับคู่ 
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน             
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก 
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา – อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม 

2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)  

3. การวางภาพต่อปลาย (Domino) 
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม 

4. การเรียงลำดับ 
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ 

5. การจัดหมวดหมู่ 
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์ 

6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการทำงาน
  • ทักษะการคิดต่อยอด
  • ทักษะการสังเกต
เทคนิคในการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้นักศึกษาจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง - สามารถลงมือปฏิบัติให้กิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนเข้าใจและมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

สาระความรู้ที่ได้รับ

เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงจับปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า    จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ   ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กล้ว ฉันกลัว ฉันกลัว    ปูหนีบหัวฉันที่หัวแม่มือ
ลา ล้า ลา

เพลงนกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลงนับนิ้วมือ

นี่คือนิ้วมือของฉัน  มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว  มือขาวก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่่ ห้า  นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาเเก้วแล้วไม่เจอ   ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลงแม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกใข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  สิบวันได้ไข่สิบฟอง


คำคล้องจองคณิตศาสตร์

กลอนหนึ่ง-สอง

หนึ่ง สอง  มือตีกลอง ตะเเล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า  สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้อง โอยโอย 

ลักษณะหลักสูตรที่ดี

  • เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
  • เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • แนะนำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
  • ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
  • เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
  • เปิดโอกาศให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยต้นเอง
         หลังจากนั้นก็ออไปนำเสนอของเล่นที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการคิดดัดแปลงและยืดหยุ่น
การนำมาประยุกต์ใช้
  • การใช้ภาพแทนตัวเลข
  • ท่าทางประกอบการร้องเพลง
  • ใช้ประโยชน์ในการให้เด็กช่วยจำได้แม่นยำขึ้น
  • ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองได้

เทคนิคในการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ช่วยให้นึกศึกษาเข้าใจง่าย มีการถาม-ตอบช่วยให้นักศึกษาจำได้ง่ายขึ้น


การประเมิน
ประเมินตนเอง - เข้าใจในเนื้อหาสาระและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีเทคนิคในการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาได้ง่าย